วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

ชื่อ พรนภัส สกุล  พงศ์ไกรเพชร   เลขที่  26  ห้อง 5/10
กลุ่มที่  3 

ปัญหาที่นักเรียนศึกษา  ปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
ที่มาและความสำคัญของปัญหา 
     เนื้องจากในปัจจุบีนนี้สังคมไทยที่มีปัญหาปัญหาหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากคือปัญหาภายในครอบครัว  เพราะครอบครัวเป็นสังคมที่สำคัญมากที่สุด  และปัญหาภายในครอบครัวในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เกิดมากจากการที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองนั้นไม่เข้าใจเด็กๆวัยรุ่นในสมัยนี้ จึงเกิดการทะเลาะภายในครอบครัวบางครอบครัวอาจทะเลาะกันจากสาเหตุที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมองข้ามเรื่องเล็กๆน้อยๆนั้นไป  บางเรื่องอาจเกิดจากสิ่งที่สะสมอยู่แล้ว  แล้วไม่ได้พูดเพื่อปรับความเข้าใจกันและอาจจะเกิดเป็นปัญหาในภายหลัง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหา พ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น
ผลการศึกษา 
  จากการศึกษาพบว่าปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่นส่วนหนึ่งมาจากการที่พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้ จึงไม่ค่อยมีเวลาพูดคุยกับลูกหรือไม่ค่อยมีเวลาได้ปรับความเข้าใจกัน ส่วนหนึ่งเกิดจากเหตุการณ์ต่างๆภายในสังคมปัจจุบันทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคำแนะนำที่ผิดและไม่มีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
   การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้คือ การที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองกับบุตรหลานพูดคุยทำความเข้าใจกัน และการดูแลกันอย่างใกล้ชิดและทำความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง และการเปลี่ยนแปลงไปในสังคมของสิ่งต่างๆเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องเข้าใจถึงสิ่งที่เปลี่ยนไปภายในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วในสมัยนี้
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
.  ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ และรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของเรื่องที่ศึกษาและรู้จักการแก้ปัญหาในการทำงานและการรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันครอบครัว

ประวัติวันครอบครัว


           เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เสนอมติโดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติ ให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดย สะดวก
 
          การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากคณะกรรมมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดอาชญากรรม และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวด้วย เนื่องจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น ขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว ลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก และครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก สิ่งเหล่านี้ล้วน แต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม

ความสำคัญของวันครอบครัว


          ครอบครัว คือ  สถาบันมูลฐานของมนุษย์ชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวให้มากขึ้น เพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัวมีความขัดแย้ง และห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาทีหลังได้

ความหมายของสถาบันครอบครัว

 
1. ความหมายทั่วไป
 
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า " สถาบัน" และ " ครอบครัว " ไว้ดังนี้          
           สถาบัน หมายถึง สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคมจัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว ฯลฯ
           ครอบครัว หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร
 
2. ความหมายตามแนวพุทธศาสตร์
 
            ครอบครัวตามแนวพุทธศาสตร์ ไม่มีการกำหนดตายตัว แต่กล่าวถึงลักษณะอันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น ในทางพุทธศาสนาจะกล่าวถึงครอบครัวในรูปของสามีภรรยา บิดา มารดา เท่านั้น ซึ่งถือว่า มารดา บิดาก็ดี สามี ภรรยาก็ดี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของครอบครัว
 
3. ความหมายในแง่สถาบัน
 
            ครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันของชายหญิง ในรูปของสามี ภรรยา มีหน้าที่ให้กำเนิดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ สมาชิกในครอบครัวมีการแสดงออกทางพฤติกรรมต่อกันและกัน ในรูปของการปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทอันเป็นหน้าที่ของสมาชิก

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวที่พึงปฏิบัติต่อกัน

1. ให้ความรัก ความอบอุ่นและความเอื้ออาทรต่อกัน
2. หันหน้าเข้าหากันและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
 
3. ช่วยเหลือ ดูแล เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน 
4. ดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น
5. รู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัด/ไม่ฟุ่มเฟือย
6. รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
7. ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมกันเช่น การเข้าวัดอบรมปฏิบัติธรรมนำครอบครัวอบอุ่นครอบครัวสนุกกับห้องสมุด ศิลปะสุดสัปดาห์
 

10 วิธีสร้าง "บ้านสุข" ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี

      การที่พ่อแม่ทุกคนหวังไว้ว่า อยากให้ครอบครัวเป็นครอบครัวที่อบอุ่น ลูกได้รับความรักและการดูแลเอาใจใส่อย่างที่เขาตั้งใจไว้ แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้วความหวังกับความเป็นจริงอาจสวนทางกันเนื่องด้วยภาระที่ต้องรับผิดชอบทั้งหน้าที่การงานและหน้าที่พ่อแม่
      
       ทั้งนี้ การที่พ่อแม่จะสร้างครอบครัวให้อบอุ่นดังหวังนั้น เปรียบเสมือนของขวัญที่ล้ำค่าที่สุดสำหรับลูกเลยก็ว่าได้ เพราะหากพวกเขาอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น มีแต่ความรัก ความเข้าใจ เมื่อลูกโตขึ้น เขาก็จะมีแต่ความทรงจำที่ดีและมีแบบแผนปฏิบัติต่อไป
      
       ดังนั้นหากครอบครัวในวันนี้ยังมีความสุขไม่มากพอลองมาดูเคล็ดลับดีๆที่สามารถเพิ่มมวลความสุขให้ครอบครัวได้ง่ายๆ 10 วิธีดังนี้
       
       1. "หัวเราะ" ไปด้วยกัน
      
       เสียงหัวเราะคือวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้ทุกคนในครอบครัวได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ดังนั้นการที่ใครสักคนแบ่งปันเรื่องราวสนุกสนานน่าขำมาให้คนในบ้านได้หัวเราะไปพร้อมกัน หรือการนั่งดูรายการตลกในช่วงเวลาว่างด้วยกันทั้งครอบครัวก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
      
       2. "ขอบคุณ"กันและกัน
      
       หลายครั้งที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม คนในครอบครัวอาจหลงลืมช่วงเวลาดีๆไปบ้าง ดังนั้นการที่เราไม่ลืมคำว่า "ขอบคุณ"และ"ขอโทษ" ก็ทำให้ความรู้สึกดีๆยังคงอยู่ต่อไป อย่าลืมว่า ความสุขของทุกคนในครอบครัวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อทุกคนเข้าใจกัน
      
       ดังนั้นนับเป็นโอกาสที่ดีหากพ่อแม่สอนลูก พี่สอนน้อง น้องมีน้ำใจต่อพี่ๆ ก็ควรใช้เวลาตรงนั้นกล่าวคำว่า "ขอบคุณ" ไปบ้าง เพราะมันไม่ใช่เรื่องน่าอับอายอะไรเลย
      
       3. "แบ่งปัน"ความสุขให้ลูกบ้าง
      
       ของขวัญจากพ่อแม่ที่วิเศษอีกอย่างหนึ่งคือการที่ทั้งสองแบ่งปันความรักให้ลูกได้เรียนรู้ว่า พ่อกับแม่รักกันมากแค่ไหน ขณะเดียวกันก็ควรสอนให้ลูกรู้จักรักแท้ที่พ่อมีให้แม่ ซึ่งการพูดให้ลูกรู้คงไม่สำคัญเท่ากับการแสดงออกให้ลูกเห็น และถ้าลูกรับรู้ได้ว่า พ่อกับแม่รักกันแค่ไหน พวกเขาก็จะมีความสุขและมองความรักในแง่ดีอีกด้วย
 
 
       4. "สุข" อย่างพอเพียง      
       บางครั้งปัญหาทางด้านการงานของแต่ละครอบครัว ก็เป็นตัวการสำคัญที่บั่นทอนความสุขได้มากทีเดียว ทั้งๆที่หลายคนอาจเถียงว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเงินและงานมากกว่าลูก แต่ ณ เวลานั้น หัวหน้าครอบครัวหลายคนอาจมองไม่เห็นตัวเอง จนทำให้สาเหตุของปัญหาด้านการเงินและความไม่รู้จักพอเป็นบ่อเกิดของปัญหาซึ่งพาลหาเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับลูก-เมียได้ง่ายมาก
      
       ทั้งนี้ ถ้าใครไม่อยากให้เงินมาเป็นตัวบ่อนทำลายความสุขของครอบครัว ก็ควรจัดระเบียบความคิดและเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า แค่ไม่เป็นหนี้ ไม่อยากมีอยากได้จนเกินตัว ครอบครัวก็สุขสมบูรณ์ได้ด้วยความพอเพียง อย่าไปดิ้นรนเพื่อวัตถุนอกกายเพียงแค่ให้เป็นหน้าเป็นตา ในขณะที่ครอบครัวกำลังจะพังอีกเลย
      
       5. "มารยาท" เพิ่มสุข
      
       บทบาทของพ่อแม่ที่สำคัญคือการสอนและดูแลเอาใจใส่ ซึ่งสิ่งสำคัญที่เด็กส่วนใหญ่มักพลาดกันก็คือเรื่องมารยาท ดังนั้นหากพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักมารยาทโดยวิธีการที่ไม่ใช่การต่อว่าลูก ลูกก็จะรู้จักปรับปรุงและน้อมรับในสิ่งที่พ่อแม่สอน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการที่พ่อแม่สอนลูก แล้วลูกนำไปปฏิบัตินั้น ก็คือความสุขที่พ่อแม่จะได้กลับมา ขณะที่ลูกๆเอง ถ้าเขามีมารยาทนอกจากคนในครอบครัวแล้ว สำหรับคนในสังคมเอง พวกเขาก็จะมีความสุขเพราะลูกของเราเช่นกัน
       
       6. "ปรับ"บ้านให้มีกฎ
      
       หลายครั้งที่พี่น้องอาจทะเลาะกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างการเล่นในบ้านหรือการพูดจายุแหย่ตามประสาเด็ก ซึ่งทำให้พ่อแม่หลายคนปวดหัวไปตามๆกัน
       ดังนั้นวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ พ่อแม่ควรตั้งกฎระเบียบให้ลูกๆและเพื่อนๆที่จะมาเล่นในบ้านปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังได้ฝึกระเบียบวินัยเด็กๆอีกด้วย
      
       
7. "เชื่อมั่น" กันและกัน      
       เด็กๆอาจมีความเชื่อมั่นในตัวเองค่อนข้างสูงกว่าผู้ใหญ่ พ่อแม่ก็ควรใหอิสระกับลูกในการตัดสินใจและเชื่อมั่นในตัวลูก แต่อิสระในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะอะไรก็ได้ไร้ขอบเขต ความเชื่อมั่นในที่นี้หมายถึงพ่อแม่ควรให้ลูกตัดสินใจเลือกในสิ่งที่พวกเขาอยากทำโดยอยู่ในสายตาของพ่อและแม่เพื่อให้เขาเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านประสบการณ์ด้วยตนเอง ไม่ใช่บังคับลูกเสียทุกอย่าง เพราะหากเป็นเช่นนั้น นอกจากจะไม่มีความสุขแล้ว ครอบครัวอาจแตกแยกได้อีกด้วย


       8. "ชื่นชม" มากกว่าติเตียน
      
       การชื่นชมในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ต่อให้ลูกทำผิดก็บอกว่าไม่ผิด เข้าข้างลูกอย่างไม่มีเหตุผล แต่การชื่นชมที่พ่อแม่ควรทำคือการที่ประสบความสำเร็จหรือสามารถทำอะไรบางอย่างที่น่ายินดี พ่อแม่ก็ควรให้กำลังใจลูก แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม เพราะในที่สุดแล้ว เมื่อลูกได้รับกำลังใจจากพ่อแม่ เขาก็จะมีความสุข และเมื่อลูกมีความสุข พ่อแม่ก็จะพลอยสุขไปด้วย
      
       9. ลด "กังวล"
      
       คำนึงอยู่เสมอว่า ไม่ว่าจะเจอปัญหาหนักหนาแค่ไหน แต่คนในครอบครัวก็ยังคงเป็นกำลังใจและรออยู่ที่บ้านเสมอ ดังนั้นหากพ่อแม่เครียดจากการทำงาน ก็ไม่ควรเอาปัญหาไปที่บ้านด้วยเพราะจะทำให้บรรยากาศเสียเข้าไปใหญ่ ลองนึกดูว่า ถ้าลูกๆกำลังรอพ่อแม่กลับบ้านเพื่อนั่งทานข้าวเย็นพร้อมกัน แต่กลับต้องพบว่า พ่อหงุดหงิด เรื่องงาน แม่ก็มีปัญหาที่ไม่ได้ต่างกัน เด็กๆที่รอที่บ้านคงเสียใจและหงุดหงิดตามกันเป็นแน่
      
       ดังนั้น หากมีปัญหาอะไรก็ควรแยกแยะเวลางานและเวลาครอบครัวเท่าที่จะทำได้ ถ้าสิ่งไหนที่สามารถบอกเล่าและปรึกษากันและกันได้ก็ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้คนเดียว เพราะทุกคนในครอบครัวไม่มีใครทิ้งใครได้แน่นอน ความกังวลจะลดลงได้ถ้ามีใครสักคนรับฟัง
      
       10. "ช่วยเหลือ" กันและกัน
      
       สิ่งที่สำคัญที่สุดนอกเหนือจากที่กล่าวมานั้น การอยู่ร่วมกันเป็นทีมที่มีความสามัคคีกัน นับเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ดังนั้นการที่ครอบครัวพร้อมใจช่วยเหลือกันและกันเปรียบเสมือนเป็นทีมเดียวกัน แน่นอนว่าไม่ว่าจะเจออุปสรรคแบบใด ครอบครัวที่แข็งแรงแบบนี้ก้จะสามารถฝ่าฟันไปได้ด้วยดี และในที่สุด อุปสรรคต่างๆก็ไม่สามารถทำลายมวลความสุขของทุกคนในครอบครัวลงไปได้แม้แต่น้อย
       
       เคล็ดลับทั้ง 10 ข้อนี้ หลายคนอาจบอกว่าพูดง่าย คิดง่าย แต่ทำยาก ซึ่งหากลองเปลี่ยนทัศนคติว่า ทำยากแต่ก็ทำได้ เชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นกี่เคล็ดลับ ถ้าทุกคนอยากทำให้ครอบครัวมีสุข ก็สามารถทำได้โดยปราศจากข้ออ้างใดๆแน่นอน เพียงแค่ให้ทุกคนในบ้านร่วมมือกัน

วิธีสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว

วิธีสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว
สัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบครัวก่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยทางจิตใจที่คนในครอบครัวรู้สึกเมื่ออยู้ร่วมกัน บรรยากาศแห่งการมีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวนั้น ทุกครอบครัวสามารถสร้างขึ้นได้โดยปฏิบัติ ดังนี้
1. ยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคนในบ้าน
2. รักและห่วงใยรู้จักเอื้ออาทรและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4. ช่วยงานบ้านทุกอย่างด้วยความเต็มใจ
5. รู้จักฟังผู้อื่นพูดและยอมรับในความคิดของผู้อื่น

ครอบครัวอบอุ่น

ลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่น
ครอบครัวที่อบอุ่นเป็นครอบครัวที่มีความสุขมีความพอใจในครอบครัวตนเอง ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. หัวหน้าครอบครัวมีความรักความเข้าใจในสมาชิก มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ เสียสละให้อภัยและเอื้ออาทรต่อสมาชิกในครอบครัวทุกคน ไม่ลงโทษต่อสมาชิกในครอบครัวโดยวิธีที่รุนแรงไม่แสดงกิริยาข่มขู่ หรือทำให้บุคคลในครอบครัวอับอาย
2. หัวหน้าครอบครัวไม่ลำเอียงในการเลี้ยงดู ให้ความรักความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ไม่ลำเอียงรักลูกคนเล็กมากที่สุดไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงกิริยารักเฉพาะบุตรตนเองกับผู้อื่น รักษาดูแลสมาชิกในครอบครัวเมื่อเจ็บป่วย
3. ระบบการปกครองมีความเป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพ โดยรู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เช่น ไม่รื้อค้นสิ่งของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต ไม่เปิดจดหมายผู้อื่น เป็นต้น
4. สมาชิกในครอบครัวมีความรักใคร่สามัคคี ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง  หรืออาฆาตพยาบาทต่อกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
5. สมาชิกในครอบครัวรู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง มีสัมมาคารวะมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง ไม่ลักขโมย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีการป้องกันแก้ไข

วิธีการป้องกันแก้ไข
           การป้องกันปัญหาครอบครัว จะต้องคำนึงถึงทั้งตัวบุคคลในครอบครัว และสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักในการป้องกันควรคำนึงถึง
           1. การเลือกคู่ครองที่ดี
           2. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
           3. แสดงบทบาทตามสถานภาพของตน
           4. ยึดมั่นในคุณธรรมสำหรับผู้ครองเรือน
           5. ให้การศึกษาอบรม
ปัญหาความตึงเครียดในครอบครัว วิธีการแก้ไขอาจกระทำโดย
           1. การขอคำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวเพื่อจะได้ใช้เป็นตัวกลางในการปรับตัวเข้าหากัน
           2. การปรึกษาหาทางปรับตัวเข้าหากัน โดยทั้ง ๒ ฝ่ายยินดีจะฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง
           3. การหันไปพิจารณาคำสอนทางศาสนา

           4. การหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ ซึ่งจะใช้เป็นวิธีท้ายสุด

ผลของปัญหาครอบครัว

ผลของปัญหาครอบครัว
           1. ทำให้สมาชิกในครอบครัวเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน
           2. บุคลิกภาพและสุขภาพกาย สุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว
           4. ทำให้เกิดการค้าประเวณี
           5. ทำให้เกิดปัญหาวัยรุ่น
           6. ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ

           7. ครอบครัวมีปัญหา