วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีการป้องกันแก้ไข

วิธีการป้องกันแก้ไข
           การป้องกันปัญหาครอบครัว จะต้องคำนึงถึงทั้งตัวบุคคลในครอบครัว และสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักในการป้องกันควรคำนึงถึง
           1. การเลือกคู่ครองที่ดี
           2. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
           3. แสดงบทบาทตามสถานภาพของตน
           4. ยึดมั่นในคุณธรรมสำหรับผู้ครองเรือน
           5. ให้การศึกษาอบรม
ปัญหาความตึงเครียดในครอบครัว วิธีการแก้ไขอาจกระทำโดย
           1. การขอคำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวเพื่อจะได้ใช้เป็นตัวกลางในการปรับตัวเข้าหากัน
           2. การปรึกษาหาทางปรับตัวเข้าหากัน โดยทั้ง ๒ ฝ่ายยินดีจะฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง
           3. การหันไปพิจารณาคำสอนทางศาสนา

           4. การหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ ซึ่งจะใช้เป็นวิธีท้ายสุด

ผลของปัญหาครอบครัว

ผลของปัญหาครอบครัว
           1. ทำให้สมาชิกในครอบครัวเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน
           2. บุคลิกภาพและสุขภาพกาย สุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว
           4. ทำให้เกิดการค้าประเวณี
           5. ทำให้เกิดปัญหาวัยรุ่น
           6. ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ

           7. ครอบครัวมีปัญหา

การหย่าร้าง

การหย่าร้าง
           การหย่าร้างของคู่สมรสในต่างสังคมกัน ย่อมมีอัตราแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะความแตกต่างกันในเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม และค่านิยม อย่างเช่น ในสังคมที่นับถือศาสนานิกายโรมันคาทอลิก อัตราการหย่าร้างจะต่ำกว่าในสังคมที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์และคนที่อยู่ในชนบทซึ่งมีอาชีพทางการเกษตร ย่อมมีการหย่าร้างน้อยกว่าคนในเมือง Scarpitti พบว่าใน ปี ค.ศ. 1971 ในสหรัฐอเมริกา อัตราการหย่าร้างของชาวชนบทมี 1.8 ต่อ 1,000 คน ในขณะที่อัตราการหย่าร้างในเมืองเป็น 5.3 ต่อ 1,000 คน
           การหย่าร้างของคู่สมรสอาจเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
           1. เนื่องจากความมีอิสระเสรีภาพทัดเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย ทำให้หญิงมีอิสระในการตัดสินปัญหาของตนเอง
           2. สภาพของสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
           3. มาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นทำให้ความคิดอ่านของคนค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนไป
           4. หญิงมีงานทำไม่ต้องพึ่งสามีในทางเศรษฐกิจ
           5. ความคิดในเรื่องการหย่าร้างในเมื่ออยู่ด้วยกันแล้วไม่มีความสุขมีมากกว่าแต่ก่อนและยังมีกฎหมายที่ทำให้การหย่าร้างเกิดขึ้นได้ง่าย



การขัดแย้งกันในครอบครัว

การขัดแย้งกันในครอบครัว
           การขัดกันในครอบครัวอาจแยกออกได้ 2 ลักษณะ คือ การขัดกันทางส่วนตัว (Personal Conflict)
กับการขัดกันโดยทางเศรษฐกิจและสังคม (Socioeconomic Conflict)
           1. การขัดกันโดยทางส่วนตัว เป็นการขัดกันทางด้านบุคลิกภาพ
                      1. ด้านอารมณ์
                      2. แบบของความประพฤติของคู่สมรส
                      3. บทบาท
                      4. ค่านิยม สามีภรรยาอาจได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาในลักษณะที่แตกต่าง
                      5. ความรักรวมถึงความสัมพันธ์ทางเพศ
           2. การขัดกันทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวจะเกิดการขัดแย้งกันเนื่องจาก
สาเหตุดังต่อไปนี้
                      1. การขัดกันทางด้านวัฒนธรรม
                      2. ฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน
                      3. การขัดกันในเรื่องอาชีพ
                      4. การทำงานของฝ่ายหญิง
                      5. การว่างงาน
                      6. ปัญหาอื่น ๆ


ความตึงเครียดภายในครอบครัว

ความตึงเครียดในครอบครัว
           - เนื่องจากค่านิยม ความเชื่อ ความต้องการ
           - เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจ
           - ความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้อง
           - การทำงานของภรรยานอกบ้าน
           - การมีอาชีพที่ต่างกันไปของสมาชิกในครอบครัว
           - ความผิดหวังในตัวภรรยาหรือสามี


ครอบครัว


      ครอบครัว เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมที่มีส่วนเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับบุคคล กล่าวคือ ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจซึ่งกันละกัน เอื้ออาทร ห่วงใยดูแล   ซึ่งกันและกัน ก็จะส่งผลให้ครอบครัวมีความสุขและปลูกฝังบุคลิกภาพที่ดีให้กับสมาชิกในครอบครัวได้ แต่ในขณะเดียวกันถ้าสมาชิกในครอบครัวทะละวิวาทกัน มีความขัดแย้ง ไม่เข้าใจกัน ครอบครัวก็จะไม่มีความสุข และอาจส่งผลให้เด็กก้าวร้าว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและไม่สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นได้
ลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่น

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ผักดอง




เครื่องปรุง 
  • แตงกวา  3-4  ผล   
  • กะหล่ำปลี  ¼  กิโลกรัม   
  • ดอกกะหล่ำ  ¼  กิโลกรัม  
  • แครอท  1  หัว  
  • พริกหวาน  3-4  เม็ด   
  • น้ำส้มสายชู  ½  ถ้วย   
  • น้ำตาลทราย  1  ถ้วย   
  • เกลือป่น  1  ช้อนโต๊ะ 
  • น้ำเปล่า  1  ถ้วย  
  • น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 2 ถ้วย)
วิธีทํา 
1. ล้างผักทุกชนิดให้สะอาด โดยเฉพาะกะหล่ำปลีกะหล่ำดอก ต้องล้างผ่านน้ำก๊อกหลายๆ ครั้ง 
2. แตงกวา แครอท และพริกหวาน หั่นตามขวางเป็นแว่นหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หรือจะแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ใบไม้ตามชอบ ดอกกะหล่ำตัดช่อพอคำ กะหล่ำปลีผ่าซีกหั่นเป็นชิ้น เสร็จแล้วนำผักทั้งหมดแช่น้ำเกลือไว้ประมาณ 30 นาที นำขึ้นล้างแล้วผึ่ง
3. ผสมน้ำส้มสายชู เกลือ น้ำตาลทราย น้ำเปล่า ในหม้อเคลือบ นำขึ้นตั้งไฟ พอเดือดยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง นำขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง พอเริ่มเหนียวยกลง พักไว้ให้เย็น 
4. จัดผักลงในขวดแก้วหรือขวดโหล เทน้ำดองใส่ให้ท่วมผัก ปิดฝาให้สนิท ดองไว้ 2-3 วัน รับประทานได้

หมายเหตุ 
- ขวดแก้ว ขวดโหล ควรฆ่าเชื้อโดยการต้มหรือนึ่ง ดังนั้นจึงควรเป็นขวดแก้วทนไฟ 
- ถ้าต้องการดองระยะเวลาเร็ว 1-2 วัน ให้เพิ่มความเข้มข้นในน้ำดอง โดยการเติมน้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย และเกลือ